ผู้เขียน หัวข้อ: 10 วิธีฆ่าตัวตาย (ทางการเงิน)  (อ่าน 2272 ครั้ง)

U-CREDIT

  • Administrator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 253
    • ดูรายละเอียด
10 วิธีฆ่าตัวตาย (ทางการเงิน)
« เมื่อ: สิงหาคม 03, 2015, 12:44:04 PM »
แม้ว่าการฆ่าตัวตายจะเป็นการกระทำที่ผิดหลักธรรมทางพุทธศาสนา เราเชื่อว่ามนุษย์มีศักยภาพในการฟันฝ่าอุปสรรคและทำให้ตัวเองแข็งแกร่งได้ แต่ทำไมในสังคมเรานี้ยังมีคนฆ่าตัวตายอยู่เรื่อยไปอย่างที่เราเห็นข่าวไม่นานนี้

 

การฆ่าตัวตายทางร่างกาย งานวิจัยทางจิตวิทยากล่าวไว้ว่ามีปัจจัยหลายอย่างประกอบกัน แต่ส่วนใหญ่เรามักเข้าใจว่าคนฆ่าตัวตายเขาฆ่าตัวเองเพราะความเจ็บปวดทางทางใจ (pain) แต่ไม่ใช่… คนฆ่าตัวตายเพราะเขาเชื่อว่าตัวเขาไม่มีเหตุผลอะไรที่จะมีชีวิตอยู่อีกต่อไปและโลกทั้งใบน่าจะดีขึ้นถ้าขาดเขาไปสักคนหนึ่ง (sense of burden: ความรู้สึกที่ว่าตนเองเป็นภาระของผู้อื่น) และยังมีงานวิจัยใหม่ๆ เริ่มค้นพบว่า แท้จริงแล้วการรู้สึกว่าตนเองเป็นภาระนั้นยังไม่พอที่จะทำให้คนฆ่าตัวตาย แต่มันคือคนคนนั้นมีความสามารถที่จะทำร้ายตัวเองด้วย (capacity to harm themselves) เช่น บางคนเริ่มที่จะเจาะ ปัก สักตัว เล่นกีฬารุนแรงเอ็กซ์ตรีม ยิงปืน ชกต่อยทำร้ายร่างกายกัน คือคนฆ่าตัวตายได้จะต้องมีองค์ประกอบ 2 อย่างรวมกัน คือ

ใจอยากฆ่าตัวตาย
มีความสามารถทำร้ายร่างกายตนเอง

ดังนั้นไม่ได้หมายความว่าคนเล่นกีฬาแรงๆ ทุกคนจะต้องฆ่าตัวตาย และคนที่ใจอยากฆ่าตัวตายก็ไม่ได้จะฆ่าตัวตายได้ทุกคน ซึ่งเราคงเคยจะเคยเห็นบางคนบอกว่าอยากฆ่าตัวตายแต่เขาก็ไม่ทำจริง

ทั้งหมดนี่คือที่มาที่ไปของพฤติกรรมฆ่าตัวตา

แนะนำให้อ่าน: คิดได้ไงครับพี่? คนไทยยอมซื้อกาแฟแต่ไม่ยอมซื้อหนังสือดีๆอ่าน

การทำให้คนอื่น เพื่อน หรือใครก็ตามรู้สึกว่าเขาเป็นภาระของสังคมคือสิ่งที่เราต้องคำนึงเสมอว่าเราไปทำ ไปพูดอะไรที่ทำให้เขารู้สึกเช่นนั้นได้หรือไม่ โปรดระมัดระวังการกระทำของเราด้วย

 

เอาละ เกริ่นเรื่องการฆ่าตัวตายทางร่างกายมาเสียยาว คราวนี้ลองมาดูกันบ้างว่า แล้วด้านการเงินล่ะ อะไรคือการฆ่าตัวตายด้านการเงิน

 

การฆ่าตัวตายด้านการเงิน คือ เราทำตัวเองให้เข้าสู่ความเสี่ยงที่จะล้มละลายหรือล้มเหลวทางการเงิน
 

สาเหตุที่ทำให้เราตายทางการเงิน เช่น

อ่านบทความต่อด้านล่าง

 
ผู้สนับสนุน


 

1. มีความคิดผิดด้านการเงิน : เป็นคนที่เรียงลำดับความสำคัญของการเงินผิด เช่น กู้ซื้อรถก่อนตัวเองมีเงินเก็บ และรถที่ซื้อมาก็ไม่ใช่แหล่งรายได้ เป็นต้น ซึ่งลำดับการเงินที่ถูกต้องคือ หา > ออม,ลงทุน > ใช้

 

2.ใช้เงินเกินตัว : มี 100 ใช้ 150 แล้ว 50 ที่เกินมาก็ไม่ได้หาเอง แต่เที่ยวไปยืมไปกู้เขามา สรุปคือเป็นหนี้

 

3. มีรสนิยมสูง แต่รายได้ต่ำกว่า : เห็นคนอื่นรวยกว่าก็อยากมีไลฟ์สไตล์แบบเขาโดยไม่ได้ดูสภาพความเป็นจริงของตัวเอง ไม่ยอมรับความจริงของตัวเอง ผลคือความทุกข์กับการอยู่ในจินตนาการที่ตัวเองไม่ทำให้เป็นจริง

 

4. รักคนอื่นผิดทาง : ใช้จ่ายสูงเพื่อแลกกับความรักทั้งรักแท้ และรักปลอมต่างกันไป บางคนรักลูกมากอยากให้เรียนโรงเรียนแพงเกินความสามารถพ่อแม่จ่าย หรือบางคนเป็นพ่อบุญทุ่มแม่บุญเทใจสปอร์ต ขาดสติ ใช้เงินตามใจแฟนมากไป สรุปเขาทิ้งไปแล้วเหลือไว้เพียงหนี้ที่ตัวเรา… มันใช่เหรอ?

5. ทำตามคนอื่นมากเกินไป : ไม่เป็นตัวของตัวเอง คนนั้นบอกให้ซื้อก็ซื้อ คนนี้บอกให้ทำอะไรทำหมด สุดท้ายตังค์หมด เพราะเชื่อคนอื่นมากไป ไม่เชื่อมั่นในตนเอง

 

6. ใช้บัตรเครดิต  บัตรกดเงินสดแบบไม่รู้เรื่องรู้ราว : บัตรพวกนี้ใช้ได้ แต่ต้องฉลาดใช้จริงๆ ถึงจะได้ประโยชน์ ถ้ารู้ไม่ทันก็นับวันเป็นเหยื่อได้เลย

 

7. มีการ์ดโลกสวยมากเกินไป : พอผิดพลาดก็ทำเป็นมองโลกแง่ดี ชาติก่อนเราคงเคยทำเขามา นั่นนี่โน่น แล้วเลี่ยงไม่ยอมเจ็บ ไม่ยอมแก้ไขตัวเอง ใช้ความคิดบวกแบบไม่มองความจริง

 

8. มีเหตุผลเข้าข้างตัวเองแบบผิดๆ : หาข้อแก้ตัวเพื่อให้ตัวเองดูดี เช่น อยากซื้อรถเพราะทำเงินทำรายได้เพิ่มขึ้น แต่พอเอาเข้าจริงไม่ได้คิดแบบนั้น แค่อยากได้รถมาขับเฉยๆ อยากอวด โดยไม่ดูกระเป๋าตังค์ตัวเองว่าผ่อนได้ไหม

 

9. มีเพื่อนพาเสียเงิน : คบเพื่อนสุรุ่ยสุร่าย พาเสียตังค์ พูดสั้นๆ คือ เพื่อนกิน ไม่ใช่เพื่อนพารวย

 

10. ผัดวันประกันพรุ่ง : มัวแต่เดี๋ยวค่อยทำ เดี๋ยวก่อนน่า ไม่ยอมทำเรื่องดีๆ เดี๋ยวนี้ จนมารู้ตัวอีกทีก็สายไปซะแล้ว

 

10 ข้อการฆ่าตัวตายทางการเงินโดนใจใครบ้างหรือเปล่า ถึงแม้การล้มเหลวทางการเงินจะไม่ทำให้เราเสียชีวิตเหมือนการฆ่าตัวตาย แต่ก็หลีกเลี่ยงซะดีกว่าใช่ไหม

 

==============

ขอขอบคุณ https://www.psychologytoday.com/blog/curious/201405/why-do-people-kill-themselves-new-warning-signs