ผู้เขียน หัวข้อ: ไขข้อข้องใจสิทธิประกันสังคม มาตรา 39  (อ่าน 2883 ครั้ง)

U-CREDIT

  • Administrator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 253
    • ดูรายละเอียด
ผู้ที่ออกจากงาน (ออกจากการเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33) สามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนภาคสมัครใจ (มาตรา 39) โดยจะได้รับสิทธิต่อเนื่องจากที่เคยส่งประกันสังคมไปแล้วใน 6 กรณี ได้แก่ กรณีเจ็บป่วย กรณีคลอดบุตร กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย กรณีสงเคราะห์บุตร และกรณีชราภาพ

คุณสมบัติของผู้สมัคร

    1. เคยเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 นำส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือนและออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน นับแต่วันที่ลาออกจากงาน
    2. ต้องไม่เป็นผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีทุพพลภาพจากกองทุนประกันสังคม
     
การยื่นใบสมัคร

    1. ต้องยื่นใบสมัครตามแบบคำขอเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 (แบบ สปส. 1-20) ด้วยตนเอง ภายใน 6 เดือน นับแต่วันที่ลาออกจากงาน
    2. สถานที่ยื่นใบสมัครที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-12 แห่ง หรือสำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสำนักงานประกันสังคมจังหวัดสาขา

หลักฐานการสมัครมาตรา 39

    1.  แบบขอเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 (สปส.1-20)
    2. บัตรประชาชนหรือบัตรอื่นที่มีรูปถ่าย ซึ่งทางราชการออกให้พร้อมสำเนา

เงินสมทบที่ต้องนำส่งสำนักงานประกันสังคมเดือนละ 432 บาทต่อเดือน
 
          เงินที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบ คือ เดือนละ 4,800 บาทเท่ากันทุกคน โดยคิดจากอัตราเงินสมทบ 9% (4,800 x 9% = 432 บาทต่อเดือน) ซึ่งผู้ประกันตนจะได้รับความคุ้มครอง 6 กรณี ต่อเนื่องจากการเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33ประกันสังคมมาตรา-39

กรณีเจ็บป่วย
กรณีคลอดบุตร
กรณีทุพพลภาพ
กรณีตาย
กรณีสงเคราะห์บุตร
กรณีชราภาพ
วิธีการจ่ายเงินสมทบมาตรา 39
1. จ่ายที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา พร้อมแบบส่งเงินสมทบฯ (สปส. 1-11)

หักจากบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ผ่านธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารกรุงไทย ธนาคารธนชาต ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ และธนาคารทหารไทย
จ่ายด้วยเงินสดที่ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารกรุงไทย จ่ายผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิส 7- ELEVEN จ่ายเป็นธนาณัติ ณ ที่ทำการไปรษณีย์ หรือจ่ายผ่านเคาน์เตอร์ไปรษณีย์
หน้าที่ของผู้ประกันตนตามมาตรา 39
    1. ต้องนำส่งเงินสมทบภายในวันที่ 15 ของทุกเดือน หากเกินกำหนดต้องเสียเงินเพิ่ม ในอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน
    2. แจ้งการเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงให้สำนักงานประกันสังคมดังนี้
          กรณีเปลี่ยนแปลงสถานที่ติดต่อ ต้องแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย 30 วัน ตามแบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงสถานที่ติดต่อ (สปส. 1-34)
          กรณีเปลี่ยนชื่อตัว – ชื่อสกุล หรือแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลอื่น ๆ ต้องแจ้งทันทีพร้อมแนบสำเนาหลักฐาน
          กรณีประสงค์ลาออกหรือกลับเข้าทำงานและมีสถานะเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรทันทีตามแบบแจ้งการสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน ตามมาตรา 39 (สปส.1-21)
     
เหตุที่ทำให้ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 สิ้นสภาพการเป็นผู้ประกันตน
    1. ตาย
    2. กลับเข้าเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33
    3. ลาออก
    4. ไม่ส่งเงินสมทบ 3 เดือนติดต่อกัน (สิ้นสภาพตั้งแต่เดือนแรกที่ไม่ส่งเงินสมทบ)
    5. ภายในระยะเวลา 12 เดือน ส่งเงินสมทบไม่ครบ 9 เดือน (สิ้นสภาพในเดือนที่ส่งเงินสมทบไม่ครบ 9 เดือน)

หมายเหตุ
 
          สำหรับผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ได้เข้าเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 (ทำงานในสถานประกอบการ/นายจ้างใหม่) นายจ้างหรือผู้รับมอบอำนาจสามารถดำเนินการแจ้งขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนได้ภาย ใน 30 วันนับแต่วันที่เข้าทำงาน โดยผู้ประกันตนไม่ต้องไปดำเนินการลาออกจากการเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 (สปส.1-21) แต่อย่างใด ยกเว้น กรณีผู้ประกันตนตามมาตรา 39 มีการค้างชำระเงินสมทบจะต้องไปดำเนินการแจ้งการลาออก (สปส.1-21) ด้วยตนเองที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา ที่สมัครไว้

Q&A

พนักงานกัมพูชา มีสิทธิทำประกันสังคมได้ไหมคะ
ตอบ :   มีสิทธิทำประกันสังคมได้ค่ะ โดยลูกจ้างแรงงานต่างด้าวสัญชาติ ลาว กัมพูชา และพม่า ที่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติ เข้ามาทำงานถูกกฎหมาย ต้องขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน และจ่ายเงินสมทบ จะได้รับสิทธิประโยชน์ 7 กรณี

ส่งประกันสังคมมาตรา 33 มาปีกว่าแล้ว แล้วหนูท้องก็เลยลาออกจากงาน ลาออกได้ 4 เดือนแล้วหนูไปสมัครมาตรา 39 แล้วส่งต่อประมาณ 2 เดือน ถ้าหนูคลอดลูกหนูจะได้เงินไหมคะ
ตอบ :  มีสิทธิได้รับค่ะ ผู้ประกันตนมาตรา 39 มีสิทธิได้รับเงินกรณีคลอดบุตรเช่นเดียวกับมาตรา 33 ค่ะหากส่งเงินสมทบครบตามเงื่อนไขที่ประกันสังคมระบุ กรณีคลอดบุตรต้องจ่ายเงินสมทบครบ 7 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนเดือนคลอดบุตร จึงจะเบิกค่าคลอดบุตรได้