แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Topics - U-CREDIT

หน้า: [1] 2 3 ... 16
1
แทบไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นไปได้ เมื่อมีข้อมูลออกมาจากสมาคมประกันวินาศภัยไทยว่า ในแต่ละปีธุรกิจประกันภัยต้องถูกลูกค้าฉ้อโกงเคลมสินไหมปีละนับหมื่นล้านบาท ทั้งที่ใครก็รู้ว่าธุรกิจประกันภัยนั้นมีความเขี้ยวแค่ไหน ใครจะได้เงินไปจากบริษัทประกันง่ายๆ ย่อมไม่มีทาง แม้จะเป็นลูกค้าอยู่ก็ตาม

โดยข้อมูลล่าสุดของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เองก็ออกมาระบุว่า ปีนี้มีเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับค่าสินไหมทดแทนที่ไกล่เกลี่ยกันไม่ได้ เข้าสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการเพิ่มสูงมากขึ้น คือตั้งแต่เดือน ม.ค.-พ.ค.ที่ผ่านมามีถึง 200 เรื่อง เท่ากับตัวเลขทั้งปีของปี 2558 ทีเดียว หากยังเจรจาตกลงกันไม่ได้ ลูกค้าก็ต้องเสียเวลา เสียเงินเสียทอง ฟ้องร้องกับบริษัทประกันต่อไป

นับเป็นเรื่องที่น่าเห็นใจลูกค้าผู้สุจริตไม่น้อย เมื่อถึงเวลาเรียกเคลมสินไหมแล้วไม่ได้เงินตามที่ตกลงกันไว้ตามเงื่อนไขกรมธรรม์ หรือไม่ก็ถูกบริษัทประกันถ่วงเวลา หรือบ่ายเบี่ยงการจ่ายสินไหมออกไปให้นานที่สุด ซึ่งบริษัทประกันเองก็ควรมองว่าลูกค้าส่วนใหญ่นั้นตั้งใจจ่ายค่าเบี้ยประกันด้วยความบริสุทธิ์ใจ เพื่อซื้อประกันไว้คุ้มครองความเสี่ยงภัยที่จะเกิดขึ้น หาใช่มีการวางแผนไว้ล่วงหน้าเพื่อที่จะฉ้อโกงบริษัทประกัน

ดังนั้น บริษัทประกันควรเอาเวลาไปทุ่มเท หรือหาวิธีรับมือกับพวกที่ตั้งใจมาฉ้อโกงกับบริษัทประกันโดยตรงจะดีกว่า ซึ่งอาจลดความเสียหายได้มหาศาล ดีกว่ามาตั้งแง่กับลูกค้าผู้บริสุทธิ์ทั้งหลาย

อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่าปัญหาการฉ้อโกงสินไหมประกันไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะไทยเท่านั้น แต่เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นทั่วโลก จะมากหรือน้อยก็ว่ากันไป แต่โดยเฉลี่ยแล้ว ตัวเลขฉ้อโกงสินไหมจะอยู่ประมาณปีละ 10% ของเบี้ยประกันทั้งหมด ซึ่งของไทยก็ตกประมาณปีละ 1 หมื่นล้านบาท

เริ่มตั้งแต่เรื่องที่สามารถทำคนเดียวได้ อย่างเช่น ตั้งใจขับรถชนหรือเบียดกำแพง เพื่อต้องการเปลี่ยนกันชนหรือต้องการทำสีใหม่ ซึ่งภาษาประกันเรียกว่า เคลมแห้ง กรณีนี้มีให้เห็นกันทั่วไป ไม่ใช่เรื่องสลับซับซ้อนอะไร ปีนี้เคลมไปแล้ว ปีต่อไปหากบริษัทประกันขึ้นเบี้ยอีก ก็ไม่ทำประกันต่อ ย้ายไปอยู่บริษัทใหม่ที่เบี้ยต่ำกว่าแทน

หรืออย่างคดีที่โด่งดังในอดีต กรณีเสี่ยตัดนิ้วเพื่อเคลมประกัน มีการวางแผนทำประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล (พีเอ) ไว้ถึง 20 บริษัท ยอมจ่ายค่าเบี้ยปีละ 4 แสนบาท แลกกับทุนประกันรวมกันถึง 80-90 ล้านบาท เมื่อถึงเวลา จากเสี่ยที่เคยมีอวัยวะครบ 32 ก็ยอมตัดนิ้วของตัวเองออกไป 1 นิ้ว เพื่อให้เข้าเงื่อนไขกรมธรรม์

ถ้าสำเร็จก็จะได้รับเงินนับสิบล้านบาท แต่บริษัทประกันรวมตัวกันจับได้เสียก่อน จนถูกฟ้องร้องดำเนินคดีทั้งอาญาและแพ่ง แม้สุดท้ายจะส่งฟ้องคดีอาญาฉ้อโกงไม่ทัน เพราะหมดอายุความก่อน แต่คดีแพ่ง บริษัทประกันก็ชนะไม่ต้องจ่ายสินไหม

ทีนี้ข้ามมาอีกขั้น เริ่มฉ้อโกงเป็นขบวนการ มีการนำรถเก๋งนับ 10 คัน ที่ทำประกันชั้น 1 ไว้ไปจัดฉากชนกับรถบิ๊กไบค์ มีค่าสินไหมรวม 2 ล้านบาท กรณีนี้ถูกจับได้ เพราะบริษัทประกันหลายแห่งใช้พนักงานสำรวจภัยหรือเซอร์เวเยอร์คนกลาง เรียกเคลมไปเรียกเคลมมา ในที่สุดเซอร์เวเยอร์ก็มาจ๊ะเอ๋กับรถบิ๊กไบค์คันเดิม ความเลยแตก

่่ล่าสุด เมื่อประกันสุขภาพหรือประกันชดเชยรายได้จากการรักษาพยาบาลขายดี ก็มีขบวนการเกิดขึ้นใหม่ ใช้วิธีจ้างนาย ก. ให้ทำประกัน ทำพร้อมๆ กันหลายบริษัท แถมจ่ายค่าเบี้ยให้ด้วย แกล้งเจ็บป่วยไปนอนโรงพยาบาลหลายวัน ก็ได้แล้วหลายหมื่นบาท คงทำโจ่งแจ้งไปหน่อย ในที่สุดก็ถูกจับได้

ยังมีกรณีที่ผู้รู้กฎหมายอาศัยช่องว่างของกฎหมายหากินอีก อย่างการรับจ้างเรียกร้องเคลมสินไหมแทนผู้เอาประกันตัวจริง โดยขอกินเปอร์เซ็นต์ ซึ่งมักจะมีมูลค่าสินไหมที่สูง และบริษัทประกันไม่สามารถปฏิเสธได้ เพราะมาอย่างถูกกฎหมาย

หรือปัญหาคลาสสิกที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน อย่างการเผาเอาเงินประกันก็ยังมีเกิดขึ้นอยู่ แม้บริษัทประกันจะรู้ทั้งรู้ว่าตั้งใจเผาเอาเงินประกัน แต่เมื่อขึ้นสู่ขบวนการในชั้นศาลแล้ว หลักฐานจากเจ้าหน้าที่รัฐจะเป็นตัวพิสูจน์ที่สำคัญสุดว่าเป็นอุบัติเหตุหรือการจงใจ แต่หลายครั้งบริษัทประกันต้องจ่ายตามระเบียบ

อย่างไรก็ตาม สมาคมประกันวินาศภัยไทยและ คปภ.รับทราบปัญหาที่เกิดขึ้นเหล่านี้ดี และกำลังเดินหน้านำระบบอินชัวรันส์บูโร หรือข้อมูลกลางของธุรกิจประกันมาใช้ คล้ายสถาบันการเงินใช้เครดิตบูโรตรวจสอบประวัติทางการเงินของลูกค้า หวังว่าหากทำได้สำเร็จจะช่วยลดปัญหาฉ้อโกงของธุรกิจประกันได้ไม่มากก็น้อย

http://www.posttoday.com/economy/insurance/433771

2
สินเชื่อส่วนบุคคล เป็นสินเชื่ออีกประเภทหนึ่งที่ได้รับความนิยมค่อนข้างมากในกลุ่มของผู้ขอสินเชื่อเงินก้อน อาจเป็นเพราะเงื่อนไขของการทำสินเชื่อบุคคลนั้น มีจุดเด่นตรงที่ ไม่ต้องมีผู้ค้ำประกัน ไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ ใช้เพียงคุณสมบัติของผู้ขอสินเชื่อในการค้ำประกันตนเอง ซึ่งก็คือรายได้ประจำ ให้ได้ตามเกณฑ์ที่ธนาคารกำหนดก็ใช้ได้แล้ว

สินเชื่อส่วนบุคคลทำได้ง่ายยังไง ? ก่อนอื่น ผู้ขอสินเชื่อควรเตรียมเอกสารเบื้องต้นให้พร้อม ดังนี้

เตรียมเอกสารสำคัญประกอบการพิจารณาให้พร้อม

เอกสารแสดงรายได้ของผู้ขอสินเชื่อ และหลักฐานการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
ผู้มีรายได้ประจำ : แสดงสลิปเงินเดือนล่าสุด
เจ้าของกิจการ : แสดงหลักฐานการเคลื่อนไหวของบัญชีเงินฝากของกิจการ หรือของตนเอง อย่างน้อย 6 เดือน
บัตรประชาชน และ ทะเบียนบ้าน
หลักฐานอื่นๆ เช่น หลักฐานแสดงหลักประกัน หนังสือรับรองการจดทะเบียนหุ้นส่วน/บริษัท สำเนาแสดงภาษีเงินได้ งบการเงินของกิจการปีล่าสุดฉบับยื่นสรรพากร เป็นต้น

ข้อมูลส่วนตัวของผู้ขอสินเชื่อ เช่น ชื่อ-นามสกุล เพศ สถานภาพสมรส อาชีพ รายได้ และหลักทรัพย์ที่มีหลักแหล่ง
ภาระหนี้ และประเภทหนี้

ใบสมัครในการขอสินเชื่อส่วนบุคคล ที่ระบุจุดประสงค์ในการขอ สินเชื่อ อย่างชัดเจน และเป็นความจริง

ประวัติการขอสินเชื่อ และประวัติการชำระหนี้ของผู้ขอสินเชื่อ หรือที่เรียกว่า “เครดิตบูโร” โดยสถาบันการเงินจะตรวจสอบข้อมูลจากบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ

อย่างไร ก่อนจะทำการขอสินเชื่อส่วนบุคคล ก็จงตระหนักไว้เสมอว่า สินเชื่อส่วนบุคคลนั้นมีข้อดี สามารถช่วยเราแก้ปัญหาได้ง่ายๆ แต่เราต้องใช้มันก็ต่อเมื่อเรานั้นมีความจำเป็นจริงๆ หากเป็นไปได้เก็บเงินออมไว้เพื่อใช้ในยามจำเป็นจะดีกว่า

https://moneyhub.in.th/personal-loan/

3
อยากรบกวนคนที่เคยเป็นหนี้บัตรเครดิต แบบขาดส่งมาสักระยะหนึ่ง (อาจถึงขั้นโดนจดหมายติดตามหนี้หรือโดนหมายศาล) แล้วต้องการจะชำระหนี้เพื่อปิดบัตรทั้งหมด แต่ละท่านมีวิธีการอย่างไรบ้าง ช่วยแชร์กันหน่อยครับ ขอบคุณครับ

_______________________________

ส่วนเรื่องของผมที่อยากจะขอคำปรึกษามีอยู่ว่า

ผมมีบัตรเครดิตทั้งหมด 3 ใบ ช่วงแรก ๆ ก็จ่ายขั้นต่ำตามปกติไม่มีปัญหาอะไร ทีนี้เกิดตกงานจึงทำให้ขาดส่งไป
ปัจจุบันพึ่งได้งานใหม่ ก็เลยวางแผนที่จะชำระหนี้บัตรเพื่อปิดบัตรไปเลย ผมควรทำอย่างไรดีครับ
( บัตรใบแรกยอดหนี้ประมาณ 50K อีกสองใบใบละประมาณ 20K คิดว่ามีกำลังจ่ายเดือนละ 4K ปัจจุบันขาดส่งมาเกือบปีแล้วครับ)

1. ผ่อนชำระให้หมดไปทีละใบ เช่น จ่ายใบแรกไปเลยเดือนละ 4K จนกว่าจะหมดแล้วค่อยจ่ายบัตรที่เหลือ หรือ
2. ผ่อนชำระไปพร้อม ๆ กันทั้ง 3 ใบ เช่น จ่ายใบแรกเดือนละ 2K และอีก 2 ใบใบละ 1K
    (ไม่ทราบว่าทำแบบไหนจะดีกว่ากันครับ ผมไม่ห่วงเรื่องดอกเบี้ยที่จะเพิ่มขึ้น แต่ห่วงเรื่องการขึ้นโรงขึ้นศาลมากกว่าครับ)
3. ปกติแล้วมีระยะประมาณกี่เดือนนับตั้งแต่ขาดส่งเดือนแรกจนถึงขั้นมีหมายศาลครับ
4. ในการผ่อนชำระเราควรแจ้งธนาคารก่อนมั้ยเพราะทางธนาคารก็มีจำนวนเงินขั้นต่ำที่เราต้องจ่ายก่อนแต่เรามีกำลังไม่ถึง หรือว่าเราควรจ่ายไปเองเลยไม่ต้องแจ้งใด ๆ

ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาร่วมแชร์ประสบการณ์และให้คำปรึกษาครับ ถ้ามีคำแนะนำใด ๆ เพิ่มเติมช่วยชี้แนะด้วยครับ

Greyteddy|หมีขี้เหงา
http://pantip.com/topic/32093583

4
ธปท. – สมาคมธนาคารไทย ประกาศความพร้อมใช้บัตรเดบิตแบบชิปการ์ด เริ่ม 16 พ.ค.นี้ ยืนยันไม่คิดค่าบริการเพิ่ม

นางทองอุไร ลิ้มปิติ รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แถลงร่วมกับสมาคมธนาคารไทยถึงการปรับเปลี่ยนบัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิตเดิมที่เป็นระบบแถบแม่เหล็กมาเป็นระบบชิปการ์ด ว่า ตั้งแต่ 16 พ.ค. ปีนี้เป็นต้นไป ธนาคารพาณิชย์ทุกแห่งต้องให้บริการบัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิตเป็นระบบชิปการ์ด ตามมาตรฐานชิปการ์ดของไทย แทนบัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิตแบบเดิมที่เป็นแถบแม่เหล็กซึ่งมีอยู่ประมาณ 60 ล้านใบในปัจจุบัน ให้หมดภายใน 3 ปี หรือ ภายใน 31 ธ.ค. 2562 นี้

"เท่าที่ติดตามดูในภาพรวม แบงก์มีความพร้อมในการออกบัตรใหม่แล้ว ส่วนตู้เอทีเอ็มที่จะรองรับระบบชิปการ์ดก็มีความพร้อม 80-90% แล้ว ซึ่งสาเหตุที่ยังไม่ 100% เพราะตู้บางตู้ก็ไม่สามารถอัพเกรดรับใหม่ได้ เพราะใช้มานานแล้วต้องเปลี่ยนตู้ใหม่ไปเลย จึงต้องให้เวลาในการทำงานบ้าง แต่จากนี้ไปในอีก 3 ปีข้างหน้าจะไม่มีบัตรแถบแม่เหล็กแล้ว"นางทองอุไรกล่าว

ด้านนายปรีดี ดาวฉาย ประธานสมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า ธนาคารสมาชิกจะไม่คิดค่าธรรมเนียมการเปลี่ยนบัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิตระบบแถบแม่เหล็กมาเป็นระบบชิปการ์ดเพิ่ม ยังคิดในอัตราเดิม ไม่ว่าการเข้ามาทำบัตรใหม่ หรือการโอนเงิน กดเงินข้ามกันระหว่างธนาคาร เนื่องจากระบบมันไม่ได้แตกต่างจากกัน เพียงแต่เป็นระบบที่ปลอดภัยขึ้น และหากคนใช้มากขึ้นไปใช้บริการที่สาขาลดลงต้นทุนการให้บริการของธนาคารก็จะลดลงได้ในอนาคต

ทั้งนี้ คณะกรรมการระบบการชำระเงิน(กรช.) ได้เตรียมการเปลี่ยนระบบร่วมกับธนาคารพาณิชย์มาตั้งแต่ปี 2556 เพื่อช่วยให้ผู้ถือบัตรมีความปลอดภัยเพิ่มขึ้น ช่วยแก้ปัญหาการปลอมแปลงบัตร (counterfeit card fraud) ในประเทศ ที่เกิดจากช่องโหว่ของบัตรแถบแม่เหล็กที่อาจถูกโจรกรรมข้อมูล (skimming) ที่สร้างความเสียหายในแต่ละปีไม่น้อย ให้เกิดความเชื่อมั่นในการใช้บัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิตทำธุรกรรมทางการเงินผ่านเครื่องเอทีเอ็ม และจ่ายค่าสินค้าและบริการที่ร้านค้าผ่านเครื่องรับบัตร (POS) แทนเงินสดมากขึ้น เป็นการต่อยอดการใช้ระบบชำระเงินทางอีล็กทรอนิกส์( e-Payment) สอดคล้องกับแผนพัฒนาระบบชำระเงินแห่งชาติ (National e-Payment) ของรัฐบาลด้วย


http://www.posttoday.com/economy/finance/430160

5
แบงก์โหมแคมเปญ ดึงลูกค้าถือบัตรเดบิตชิปการ์ด
โดย...ศุภลักษณ์ เอกกิตติวงศ์

เริ่มตั้งแต่วันที่ 16 พ.ค. เป็นต้นไป ธนาคารพาณิชย์ในไทยทุกแห่งจะต้องดำเนินการเปลี่ยนบัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิตจากระบบแถบแม่เหล็กที่มีลูกค้าถืออยู่กว่า 60 ล้านใบ มาเป็นระบบชิปการ์ด โดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ยังให้ลูกค้าสามารถถือบัตรแบบแถบแม่เหล็กไปได้ถึงวันที่ 31 ธ.ค. 2562 ระหว่างนี้ธนาคารพาณิชย์ทุกแห่งจึงออกแคมเปญเพื่อจูงใจให้ลูกค้าทยอยเปลี่ยนเป็นบัตรชิปการ์ดให้มากที่สุด

พรรณพร คงยิ่งยง รองผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุดลูกค้าบุคคล ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า ปัจจุบันธนาคารมีฐานบัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิตรวม 10 ล้านใบ เบื้องต้นตั้งเป้าออกบัตรเดบิตชิปการ์ดให้ลูกค้าใหม่เดือนละ 2 แสนใบ ไม่รวมกรณีลูกค้าเก่ามาเปลี่ยนบัตรเอทีเอ็ม โดยเสนอบัตรเดบิต เอส สมาร์ท ที่ให้ความคุ้มครองกระเป๋าเงินและบัตรหายจากกรณีถูกชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์สูงสุด 5,000 บาท คิดค่าธรรมเนียมรายปีพิเศษ 250 บาท ถึงวันที่ 31 ก.ค.นี้ จากปกติ 300 บาท และยังมีบัตรเดบิตอีก 3 รูปแบบ ซึ่งมีประกันภัยอุบัติเหตุ ประกอบด้วย บัตรเดบิต เอส สมาร์ท พลัส เมื่อเกิดอุบัติเหตุ ไม่ต้องสำรองจ่าย ค่าธรรมเนียมรายปี 599 บาท บัตรเดบิต เอส สมาร์ท เอ็กซ์ตร้าพลัส คุ้มครองทั้งเจ็บและป่วย มีเงินชดเชยรายได้ ค่าธรรมเนียมรายปี 999 บาท และบัตรเดบิต เอส สมาร์ท ซูเปอร์ พลัส ที่ให้ความคุ้มครองเพิ่มขึ้น ค่าธรรมเนียมรายปี 1,599 บาท

ด้าน ทรงพล ชีวะปัญญาโรจน์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานบริหารจัดการทางการเงินเพื่อธุรกิจ ธนาคารกรุงไทย กล่าวว่า ธนาคารมีบัตรเดบิตแบบชิปการ์ดให้ลูกค้าเลือก 4 ประเภท คือ บัตรเคทีบี ช็อป สมาร์ท คลาสสิก ใช้กดเงินสดและซื้อสินค้า ค่าธรรมเนียมรายปี 200 บาท บัตรเคทีบี ช็อปสมาร์ทเพิร์ล ให้ความคุ้มครองอุบัติเหตุและค่ารักษาพยาบาล คุ้มครองการถูกโจรกรรมเงินที่ถอนผ่านเครื่องเอทีเอ็มสูงสุดครั้งละ 5,000 บาท ค่าธรรมเนียมรายปี 599 บาท บัตรเคทีบีช็อปสมาร์ท บลูไดมอนด์ เอ็กซ์ตร้า เพิ่มความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาล มีชดเชยรายได้ พร้อมประกันอุบัติเหตุสูงสุด 5 แสนบาท ค่าธรรมเนียมรายปี 999 บาท และบัตรเคทีบีช็อปสมาร์ท พาราเดียม ให้ค่ารักษาพยาบาลจากอุบัติเหตุสูงสุดครั้งละ 2 หมื่นบาท พร้อมประกันอุบัติเหตุกรณีต่างประเทศสูงสุด 1 ล้านบาท ค่าธรรมเนียม 1,599 บาท ปัจจุบันธนาคารกรุงไทยมีบัตรแบบชิปการ์ดอยู่ 1.5 ล้านใบ ขณะที่ลูกค้าที่ถือบัตรแบบแถบแม่เหล็กมีกว่า 12 ล้านใบ

ทั้งนี้ธนาคารกสิกรไทย ตั้งเป้าเปลี่ยนบัตรเป็นแบบชิปการ์ดให้ลูกค้าปีนี้ประมาณ 2 ล้านบัตร จากผู้ถือบัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิตกว่า 10 ล้านบัตร โดยเปิดแคมเปญบัตรเดบิตแบบชิปการ์ดที่มี 3 รูปแบบ คือ บัตรเดบิต K-Debit Card ที่ใช้ซื้อสินค้าในร้านค้าและช็อปออนไลน์ได้ทั่วโลก บัตรเดบิต K-My Play ที่ให้สิทธิประโยชน์แก่ผู้ถือบัตรในการดูหนังและซีรี่ส์ไทยและต่างประเทศผ่าน 3 แอพพลิเคชั่นดัง รวมมูลค่ากว่า 400 บาท ได้ฟรี 1 เดือน และรับส่วนลด 15-30% ในเดือนถัดไป และบัตรเดบิต K-Max Plus ให้ความคุ้มครองอุบัติเหตุ ด้วยค่ารักษาสูงสุด 5,000 บาท/อุบัติเหตุ 1 ครั้ง โดยไม่จำกัดจำนวนครั้ง เงินชดเชยสูงสุดวันละ 300 บาท วงเงินคุ้มครอง 2 แสนบาท และยังเพิ่มสิทธิประโยชน์อื่นๆ เช่น บัตรดูหนัง ช็อปออนไลน์ได้ส่วนลด เป็นต้น

ส่วนธนาคารกรุงเทพ ที่ล้ำหน้าออกบัตรชิปการ์ด พร้อมทั้งปรับปรุงเครื่องเอทีเอ็มให้รองรับบัตรชิปการ์ดล่วงหน้ามาหลายปีแล้ว ทำให้ปัจจุบันธนาคารมีบัตรเดบิตแบบชิปการ์ด 6 ล้านใบ จากทั้งหมด 16 ล้านใบ มีตู้เอทีเอ็มที่รองรับบัตรชิปการ์ด 9,500 ตู้ โดยธนาคารตั้งเป้าจะเพิ่มจำนวนบัตรเดบิตชิปการ์ดใหม่ให้ได้ปีละ 2-2.3 ล้านใบ โดยมีสิทธิพิเศษมากมายสำหรับผู้ถือบัตร เช่น ส่วนลดร้านอาหาร การท่องเที่ยว หรือการจองที่พัก เป็นต้น

น่าสนใจว่าแคมเปญต่างๆ ของแต่ละธนาคารจะสามารถดึงดูดให้ลูกค้าหันมาเปลี่ยนเป็นบัตรชิปการ์ดได้มากน้อยเพียงใดและรวดเร็วมากน้อยแค่ไหน เพราะใน 2 ปีเศษๆ หรือสิ้นปี 2562 ผู้ถือบัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิตในไทยทั้งหมด 60 ล้านบัตร ต้องเปลี่ยนเป็นระบบชิปการ์ดทั้งหมด

http://www.posttoday.com/economy/finance/432268

6
สภาวะเศรษฐกิจที่ไทยกำลังเผชิญอยู่นี้ ทำให้ผู้ประกอบการต้องคิดหนักเนื่องจากขายของไม่ได้ เพราะผู้บริโภคไม่มีกำลังซื้อ บางรายที่ยังพอขายได้ ก็ต้องเจอกับการขอยืดเวลาการจ่ายเงินของคู่ค้า หรือแย่สุดคือเก็บเงินไม่ได้เลย ซึ่งทำให้เงินที่ใช้หมุนเวียนในธุรกิจสะดุดตามไปด้วย 6 เทคนิคบริหารเงินที่แนะนำนี้ จะสามารถช่วยให้คุณประคองตัวผ่านพ้นช่วงนี้ไปได้

1. ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น
    จัดลำดับความสำคัญให้ได้ สิ่งไหนยังไม่จำเป็นก็ลดการใช้จ่าย อะไรที่ประหยัดได้ก็ควรประหยัด เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเดินทาง หรือการสต๊อกวัตถุดิบ เป็นต้น การมีสภาพคล่องทางการเงินในช่วงเศรษฐกิจซบเซาเช่นนี้เป็นสิ่งจำเป็นมาก นอกจากนี้การบริหารจัดการต้นทุนในการผลิตที่ดี ก็จะช่วยให้ผู้ประกอบการลดค่าใช้จ่ายลงได้ 

2. ดูกระแสเงินสดอย่างใกล้ชิด
    ด้วยการเดินบัญชี (Statement) อย่างสม่ำเสมอ หรือการการทำบัญชีรายรับรายจ่าย จะทำให้ผู้ประกอบการรับรู้รายได้และค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงในธุรกิจ รวมถึงสถานการณ์ทางการเงินของธุรกิจ ว่ามีเงินหมุนเวียนเพียงพอหรือไม่ จะได้วางแผนการเงินไว้รองรับ เพื่อรักษาสมดุลระหว่างรายรับและรายจ่าย

3. ชะลอการลงทุน
    ประเมินความจำเป็นให้รอบด้าน เพราะช่วงหน้าสิ่วหน้าขวานแบบนี้ไม่ควรเสี่ยงที่จะลงทุน แต่หากพิจารณาแล้วว่าเป็นโอกาสในการขยายธุรกิจที่ควรคว้าไว้ ก็ควรกลั่นกรองวางแผนอย่างรอบคอบ ที่สำคัญอย่านำเงินไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ บางคนอาจมองว่าการนำเงินตรงนี้นิดไปโปะตรงนั้นหน่อยเป็นเรื่องไม่เสียหายอะไร แต่หารู้ไม่ว่ามันส่งผลกระทบต่อธุรกิจได้อย่างมหาศาล เพราะลืมคิดไปว่า เงินที่ว่านี้ก็คือสภาพคล่องของธุรกิจ ซึ่งหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้นก็มีโอกาสที่จะทำให้ธุรกิจชะงักงันได้เลยทีเดียว

4. รักษาคุณภาพของลูกหนี้
    นาทีนี้การขายของไปแล้วได้เงินสดมาถือไว้ในมือนั้นอุ่นใจที่สุด เพราะมีความไม่แน่นอนจากการขายเชื่อสูง ว่าขายไปแล้วจะเก็บเงินได้หรือไม่ เนื่องจากเอสเอ็มอีไม่สามารถเลือกได้ว่าจะขายเงินสดแต่เพียงอย่างเดียว ดังนั้นก็ต้องจัดสรรความเสี่ยงตรงนี้ให้สมดุล นอกจากนี้ต้องรู้จักเลือกลูกค้า หรือลูกหนี้ โดยเลือกลูกค้าเก่าที่ค้าขายคุ้นเคยกันอยู่แล้ว หรือหากเป็นลูกค้าใหม่ ก็พิจารณาที่มีความน่าเชื่อถือ มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง ประวัติดี ซึ่งข้อมูลพื้นฐานเหล่านี้สามารถสอบถามจากคนในท้องที่ได้ หรือหากเป็นคู่ค้าใหม่ในต่างประเทศ ก็ตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นได้จากหน่วยงานราชการ

5. ยืดระยะเวลาการจ่ายหนี้ตามจำเป็น
    หากมีความจำเป็นจริงๆ ควรเจรจากับคู่ค้า เพื่อต่อรองขอยืดระยะเวลาการจ่ายเงินออกไปก่อน เพื่อให้มีเงินหมุนเวียนใช้จ่ายในกิจการ นอกจากนี้หากเอสเอ็มอีมีภาระผ่อนเงินกู้กับสถาบันการเงิน แต่เงินหมุนเวียนไม่ทันจริงๆ ในกรณีนี้เอสเอ็มอีควรเข้าไปปรึกษาสถาบันการเงินที่เป็นเจ้าหนี้ไปตามตรง เพื่อร่วมกันแก้ไขหาทางออกก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป พึงระลึกไว้เสมอว่า การรักษาเครดิตเป็นสิ่งสำคัญต่อการทำธุรกิจอย่างมาก

6. หมั่นติดตามข่าวสาร
    ในภาวะเช่นนี้ การติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิด จะช่วยให้ธุรกิจเตรียมพร้อมรับมือกับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นได้ทันการณ์ ไม่ว่าจะเลวร้ายแค่ไหน หากมีการเตรียมความพร้อม ปัญหาก็จะบรรเทาลงได้ รวมถึงข้อมูลข่าวสารความช่วยเหลือต่างๆ ทั้งจากภาครัฐและเอกชน

      จะเห็นว่าในช่วงที่เศรษฐกิจซบเซาเช่นนี้ หัวใจสำคัญในการทำธุรกิจก็คือการบริหารเงินหรือสภาพคล่องอย่างมีสติ และเตรียมตัวให้พร้อมกับทุกสถานการณ์ แล้วธุรกิจของคุณจะยืนหยัดผ่านพ้นวิกฤตไปได้อย่างภาคภูมิ



7
5C คือ หลักเกณฑ์ 5 ข้อที่ธนาคารให้ความสำคัญ ใช้พิจารณาว่าจะปล่อยสินเชื่อให้หรือไม่ และให้ในจำนวนเท่าไหร่

1. อุปนิสัยของลูกค้า (CHARACTER)
ดูว่าตัวผู้กู้เป็นคนอย่างไร  มีประสบการณ์ในธุรกิจที่ทำอยู่แค่ไหน และมีประวัติที่ไม่ดีทางการเงินหรือไม่ เนื่องจากนิสัยพื้นฐานเหล่านี้ จะสะท้อนถึงความสามารถในการบริหารจัดการธุรกิจ และพฤติกรรมด้านการเงินได้เป็นอย่างดี

2. เงินทุน (CAPITAL)
โดยทั่วไปแล้ว ส่วนหนึ่งผู้กู้ต้องมีเงินทุนส่วนตัวมาลงทุนด้วย หรือมีกำไรสะสมมาจากการประกอบธุรกิจมาลงทุน ซึ่งนอกจากจะสร้างความทุ่มเทในการทำธุรกิจจนสุดความสามารถแล้ว แต่การจะนำเงินทุนหรือนำกำไรมาลงทุนเท่าไหร่นั้น ก็ต้องขึ้นอยู่กับธุรกิจแต่ละประเภทว่า ควรจะมีสัดส่วนระหว่างเงินทุนกับหนี้สินเท่าไรด้วย 

3. ความสามารถในการชำระหนี้ (CAPACITY)
เป็นหัวใจสำคัญในการพิจารณาสินเชื่อ  เพราะเป็นแหล่งชำระหนี้คืนให้กับธนาคาร การดูว่าธุรกิจมีความสามารถในการชำระหนี้คืนแค่ไหน ดูได้จากรายได้ของธุรกิจหลังหักค่าใช้จ่ายต่างๆ แล้ว ต้องเหลือเพียงพอชำระหนี้ทั้งหมดในแต่ละเดือน

4. หลักประกัน (COLLATERALS)
หลักประกันที่ดีที่สุดสำหรับการขอสินเชื่อ คือ สถานประกอบการ รองลงมา คือ ที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง หรือเครื่องจักร ซึ่งการพิจารณาสินเชื่อนั้นธนาคารไม่ได้ดูที่หลักประกันเพียงอย่างเดียว แต่ยังพิจารณาถึงความสามารถในการชำระหนี้และแผนธุรกิจอีกด้วย ถ้าไม่มีหลักประกันก็สามารถขอสินเชื่อได้ แต่การพิจารณาสินเชื่อแบบไม่มีหลักประกัน หลักเกณฑ์ในการพิจารณาจะเข้มมากกว่าปกติ หรืออาจจะใช้บริการของบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ซึ่งเป็นหน่วยงานของภาครัฐมาช่วยในการค้ำประกันได้

5. เงื่อนไข (CONDITION)
คือ เงื่อนไขในการใช้วงเงินที่ธนาคารกำหนดขึ้นสำหรับผู้กู้แต่ละรายให้ปฏิบัติตาม เช่น หากผู้กู้ต้องการเบิกใช้วงเงิน จะต้องทำการเพิ่มทุนก่อน จึงจะใช้วงเงินได้ โดยเงื่อนไขที่กำหนดขึ้นนั้น จะพิจารณาจากผลการดำเนินงานของธุรกิจ เช่น สัดส่วนหนี้สินต่อทุน สัดส่วนหนี้สินต่อส่วนของเจ้าของ และกำไรสะสม เป็นต้น

http://www.kasikornbank.com/TH/SME/KSMEKnowledge/FinancialTips/Pages/5C.aspx?PID=FBKBankLive_3May2016

8
แบ่งจ่ายชิลๆ 0% นาน 3 เดือน ทุกการช้อปที่เรียกเก็บเป็นสกุลเงินต่างประเทศ ผ่านบัตรเครดิตกสิกรไทย ถึง 15 มิ.ย. 59 นี้

*เงื่อนไขตามที่ธนาคารกำหนด
เพิ่มเติม คลิกเลย! bit.ly/1SbciUb

9
จำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ของกระทรวงการคลัง
ในปีงบประมาณ พ.ศ.2559 ครั้งที่ 2 อายุ 5 ปี และ 10 ปี
จำหน่ายตั้งแต่วันที่ 12 พฤษภาคม - 31 สิงหาคม 2559

[จองซื้อขั้นต่ำ 1,000 บาท สูงสุด 2,000,000 บาท/ราย
ผ่านเครื่อง ATM และเคาน์เตอร์ธนาคารกสิกรไทย ทุกสาขา]

รายละเอียดเพิ่มเติม คลิกเลยค่ะ! http://bit.ly/1pXMwFQ

10
ผมขอถามพี่เรื่อง Internet Banking และ Mobile Bankingหน่อยนะครับ คือผมไม่ค่อยมีความรู้ด้านนี้นะครับ ผมเป็นห่วงด้านความปลอดภัยถ้าผมใช้Internet banking จำเป็นต้องเป็น MAC OS ไหมครับ และถ้าเป็น Mobile Banking ต้องเป็น I OS ไหม คือส่วนตัวผมใช้ Windows และ Android จะมีความปลอภัยในการใช้ไหมครับ และถ้าเราใช้ Internet ที่ทำงานกับ Internet ที่บ้านการใช้Internetที่ทำงานมันปลอดภัยไหมครับ

http://pantip.com/topic/34888096

11
ตอนนี้ผมเงิน 18,000 บาท หักค่าใช้จ่ายแล้ว เหลือเงินใช้อยู่ประมาน 8,000-9,000บาท
ผมอยากผ่อน กล้อง nikok D750 มาไว้ใช้งาน รับงานอีเว้น รับงานทั่วไป เพื่อเพื่มรายได้อีกช่องทางนึง จึงอยากทราบว่า เงินเดือนเท่านี้ จะสมัครบัตรอะไรผ่อนได้บ้างครับและต้องทำอย่างไร ไม่ต้องผ่อน0%เน้นระยะยาวหน่อย เพื่อเก็บงบที่เหลือไว้กินไว้ใช้ครับและต่อยอดในชีวิตประจำวันครับ (ใช้ธนาคารไทยพาณิช)

http://pantip.com/topic/34891766

12
คือ เรื่อง มัน มี อยู่ ว่า

  เมื่อประมาณปี 2556 ผมได้ทำบัตร  first choice (ออกแนวว่าเด็กจบใหม่ไฟแรง อยากมีบัตรเครดิตอะไรงี้) ก็ใช้ผ่อนโทรศัพท์ เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆเพื่อเตรียมเข้าหอพัก ผ่อนไปได้ซัก 2 เดือน ปรากฏว่า ตกงานครับท่าน อารมณ์ โรงงานย้ายฐานการผลิตอะไรประมาณนั้น ซวยเลยทีนี้!!! เอาไงดีบัตรยังต้องผ่อน เอาว่ะ ออกก็ออกเดี๋ยวคงหางานใหม่ได้ ผลปรากฏว่าหาไม่ได้ครับ ไม่มีเงินผ่อนส่งเพราะเงินที่ได้ทั้งหมดต้องเอามาส่งค่าหอค่าที่พัก เลยตัดสิ้นใจ ตัดหางปล่อยวัด ไม่ส่งต่อ จบเรื่องเงียบหายไปก็คิดว่า ซักวันเมื่อเราพร้องเราคงใช้หนี้ก้อนนี้ให้หมด เรื่องผ่านมาจน ปี 2558 มีหมายศาลมาที่บ้าน ตกใจเลยครับ ยอมรับว่าไม่ได้ไปไกล่เกลี่ยอะไรทั้งสิ้ง จนได้งานใหม่ ศาลบังคับให้โรงงานใหม่ตังเงินจากเงินเดือนผม ส่งให้กับบริษัท อยุธยาแคปปิตอล ผมก็เฮ้ย!!! ก็ดี เราพร้อมแล้วก็ต้องยอมจ่ายสินะ แต่ว่าตอนนี้คืองานที่ทำค่อนข้างมั่นคง เลยเริ่มรู้สึกอยากทำให้ประวัติทางการเงินของตัวเองดีขึ้น หรือไม่ก็ให้มันจบๆไป อยากเป็นหนี้แค่ทางเดียว เลยอยากสอบถามว่าในกรณีแบบนี้มีธนาคารไหนพอจะปล่อยกู้ได้บ้างครับ อยากกู้มาปิดหนี้เสียพวกนี้เหลือเกิน รบกวนแนะนำหน่อยนะครับ เพราะผมก็อยากได้เงินก้อนมาปิดหนี้เหล่านี้เหลือเกิน

http://pantip.com/topic/34892468

13
อยากสอบถามว่า บัตรเครดิตวงเงิน 20,000 แต่จะขอวงเงินเพิ่มชั่วคราว
เพื่อรูดซื้อของราคา 50,000 นี้ แต่อยากผ่อน0% สัก 6เดือน
สามารถทำได้ไหมคะ? แล้วต้องจ่ายอะไรยังไง รบกวนผู้รู้ทีคะ ขอบคุณคะ


http://pantip.com/topic/34893053

14
เป็นเรื่องที่ถกเถียงกันพอสมควรระหว่างนักวิชาการการเงิน ระหว่างสองข้างสุดโต่ง อีกฝั่งหนึ่งก็บอกว่า เราควรที่จะใช้เงินสดดีที่สุด ไม่ควรใช้บัตรเครดิต เพราะอาจทำให้คนที่ใช้ต้องเป็นหนี้บัตรเครดิตได้ แต่อีกฝ่ายหนึ่งกลับบอกว่า การใช้บัตรเครดิตนั้นมีคุณประโยชน์มาก ยิ่งเรามีบัตรเครดิตหลายใบ ที่มีประโยชน์แตกต่างกันออกไป ก็ยิ่งเป็นประโยชน์มากกว่าเดิมอีก ซึ่งวันนี้พี่หมีและทีมงานเอาข้อคิดดีๆ มาฝากกันครับ ก่อนที่เราจะตัดสินใจที่จะมีบัตรเครดิตหลายๆ ใบนั้น มีประโยชน์และโทษอย่างไรบ้าง
 
ประโยชน์ของการพก "บัตรเครดิต" หลายใบ
การถือบัตรเครดิตหลายใบทำให้ชีวิตคุณดีขึ้นยังไง...ไปดู
 
      ได้ผลตอบแทนสูงสุด
บัตรเครดิตแต่ละใบ จากแต่ละธนาคาร มีสิทธิพิเศษ ผลตอบแทนที่แตกต่างกันออกไป และเปลี่ยนไปเรื่อยๆ เพื่อดึงดูดลูกค้าให้สนใจบัตรของตน บางบัตรให้เครดิตเงินคืนสูงจากการเติมน้ำมัน บางบัตรให้การสะสมไมล์ที่สูงจากการซื้อตั๋วเครื่องบินไปต่างประเทศ หรือบางบัตรให้คะแนนสะสมที่มากกว่าในการช้อปปิ้งในฤดูแห่งการช้อปปิ้ง อาทิ ช่วงคริสต์มาส เพราะฉะนั้น นั่นหมายความว่า หากคุณมีบัตรหลายบัตร ที่ประโยชน์ต่างๆ กัน การกระจายกันใช้ให้ถูกตามวัตถุประสงค์ของบัตร จะทำให้คุณได้เก็บเกี่ยวผลตอบแทนได้คุ้มที่สุดนั่นเองครับ
 
      ความยืดหยุ่นในการใช้ชีวิตทางด้านการเงิน
บัตรเครดิตมีเครือข่ายให้บริการหลายเจ้า อาทิ Visa MasterCard หรือ JCB เป็นต้น ในบางครั้ง บางสถานที่จะรับบัตรเครดิตเพียงแค่บางเครือข่ายเท่านั้น อาทิ ไม่รับ JCB รับเฉพาะ Visa และ MasterCard เป็นต้น เพราะฉะนั้น การมีสำรองไว้อีกใบ เป็นของอีกเจ้า นั่นคือเรื่องที่ดี นอกจากนี้ หากคุณเผลอทำบัตรเครดิตใบโปรดหายขณะอยู่ต่างประเทศ หรือแม้แต่ที่ไหนก็ตามแต่ กว่าที่คุณจะได้ใบใหม่ส่งมาจากธนาคาร อาจใช้เวลาเป็นอาทิตย์ หรือสองอาทิตย์ เพราะฉะนั้น ที่คือจุดที่บัตรเครดิตสำรองของคุณมีความสำคัญขึ้นมาทันทีเลยล่ะครับ
 
      สร้างความหลากหลายให้เครดิตโปรไฟล์
ผู้เชี่ยวชาญด้านเครดิตรีพอร์ท กล่าวว่า การใช้บัตรเครดิตสองสามใบที่แตกต่างกัน และใช้อย่างมีวินัย จะส่งผลที่ดีต่อเครดิตสกอร์มากกว่าการใช้บัตรเครดิตใบเดียวซ้ำๆ ไปตลอด
 
อันตรายจากการใช้ "บัตรเครดิต" หลายใบ...
สำหรับข้อเสียที่คุณควรตระหนักในการใช้บัตรเครดิตหลายใบมีดังนี้
 
      ติดตามการใช้จ่ายได้ยากกว่า
ยิ่งมีบัตรหลายใบ ก็ยิ่งติดตามยากว่าคุณรูดไปเท่าไหร่แล้ว เหลือเครดิตเท่าไหร่แล้ว ซึ่งสามารถแก้ปัญหาได้ เพียงแค่คุณต้องเป็นคนที่เป็นระเบียบในการใช้เงิน มีการจดบันทึกรายจ่ายตลอดเวลา แค่นี้ ข้อนี้ก็จะไม่เป็นปัญหาสำหรับคุณ
 
      มีโอกาสในการลืมวันชำระบัตรเครดิต
บัตรเครดิตแต่ละใบมีวันปิดยอด วันครบชำระบิลบัตรเครดิตต่างกัน เพราะฉะนั้น ยิ่งหลายใบ ก็เสี่ยงที่คุณจะลืมจ่ายมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งหากคุณลืมจ่ายเมื่อไหร่ ก็อาจส่งผลต่อคะแนนเครดิตสกอร์มากขึ้นเท่านั้น และยังทำให้คุณต้องเสียดอกเบี้ยบัตรเครดิตโดยไม่จำเป็นอีกด้วย
 
จริงๆ คำถามที่ว่า เราควรถือ "บัตรเครดิต" กี่ใบกันแน่? ไม่มีคำตอบที่ตายตัวหรอกครับ เพียงแค่ว่า สถานการณ์การเงินคุณเป็นอย่างไร และเป้าหมายของคุณคืออะไร หากเป้าหมายของคุณคือการที่คุณจะต้องได้ผลตอบแทนจากการใช้บัตรเครดิตทุกบาททุกสตางค์ให้คุ้มค่าที่สุด ก็ลองหาบัตรเครดิตหลายๆ ใบที่ให้ผลประโยชน์ที่แตกต่างกันมาดูครับ รับรองคุ้มค่าแน่นอน

https://www.gobear.co.th/#!/blog/detail/how-many-credit-cards-you-should-own?utm_source=pantip&utm_medium=advertorial&utm_campaign=car&utm_content=mobile&pc

15
ผมสงสัยน่ะครับ
ค่าธรรมเนียมรายปีก็เวฟได้
สมัครใหม่ก็ได้กระเป๋าหรือของกำนัลอื่นๆ
สะสมแต้มจากยอดใช้จ่ายแลกของได้อีก
หรือบางบัตรก็มีคืนเงินเล็กน้อย
มีโปรร่วมกับร้านอาหาร ห้างร้านต่างๆ ได้ส่วนลดอีก

คนที่มีเงินเก็บพอสมควร เงินเดือนเยอะๆ
มีเงินพอจ่ายค่าบัตรเครดิตแน่ๆ
ทางธนาคารเขาจะหากำไรได้อย่างไรครับ
หรือเขาหวังว่าสักวันคนกลุ่มนี้ต้องหมุนเงินไม่ทันแน่ๆ

http://pantip.com/topic/34887279?utm_source=facebook&utm_medium=pantip_page&utm_content=Boom&utm_campaign=34887279

หน้า: [1] 2 3 ... 16